k=Knowledge
-
ทำความรู้จักกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance)
ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) หมายถึง การกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารจัดการข้อมูลทุกขั้นตอน เพื่อให้ การได้มาและการนำไปใช้ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน รักษาความเป็นส่วนบุคคล และสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย โดยใช้ข้อมูลเป็นหลักในการขับเคลื่อน ประเทศ เช่น การใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์การตัดสินใจเชิงนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดิน การเพิ่ม ประสิทธิภาพในการบริการประชาชน การเสริมสร้างและผลักดันธุรกิจที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมข้อมูล วัตถุประสงค์ การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปผลักดัน และดำเนินการใน ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ รวมถึงติดตามการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ส่งผลต่อ คุณภาพ ความมั่นคงปลอดภัย และบูรณาการข้อมูลได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และข้อมูลเป็นปัจจุบัน ข้อมูล (Data) ข้อมูลเปรียบเสมือนทรัพย์สินที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับทรัพย์สินประเภทอื่น ดังนั้นหน่วยงานจึง จำเป็นต้องมีมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและคุณภาพของข้อมูล เช่น การรักษาความลับของข้อมูล (Confidentiality) การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถใช้งานข้อมูลได้ (Loss of Availability) การ รักษาความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล (Integrity) การทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ (Timeliness) ทั้งนี้เพื่อ ตอบสนองต่อการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับยุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประเภทข้อมูล (Types of Data) ข้อมูลถูกจัดแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1) ข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured Data) เป็นข้อมูลที่มีการนิยามโครงสร้างของข้อมูลไว้ โดย นิยามความหมายและคุณสมบัติของแต่ละฟิลด์ข้อมูล โครงสร้างมีชั้นเดียวทำให้ง่ายต่อการค้นหา เช่น ตารางข้อมูลในฐานข้อมูล Comma-Separated Values – CSV 2) ข้อมูลกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Data) เป็นข้อมูลที่มีการนิยามโครงสร้างของข้อมูลไว้ แต่ โครงสร้างเป็นแบบลำดับขั้น (Hierarchy) เช่น Extensible Markup Language - XML JavaScript Object Notation - JSON 3) ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีการนิยามโครงสร้างของข้อมูล ไว้ มักจะอยู่ในรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ ระบบบริหารและกระบวนการจัดการข้อมูล หรือวงจรชีวิตของข้อมูล (Data Life Cycle) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กระบวนการสร้างข้อมูล (Create) เป็นการสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ โดยวิธีการบันทึกเข้าไปด้วยบุคคล หรือบันทึกอัตโนมัติด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ (Sensor) รวมถึงการ ซื้อข้อมูล หรือการรับข้อมูลจากหน่วยงานอื่น เพื่อนำมาจัดเก็บในภายหลัง 2) กระบวนการจัดเก็บข้อมูล (Store) เป็นการจัดเก็บข้อมูลที่เกิดจากกระบวนการสร้าง หรือข้อมูลที่ได้ จากการแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานอื่น เพื่อให้มีระเบียบ ง่ายต่อการใช้งาน ไม่สูญหาย หรือถูกทำลาย และให้ผู้ใช้งานสามารถประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะจัดเก็บลง แฟ้มข้อมูล (File) หรือระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management System - DBMS) 3) กระบวนการใช้ข้อมูล (Use) เป็นการนำข้อมูลที่จัดเก็บมาประมวลผล เช่น การถ่ายโอนข้อมูล การ เปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำรายงาน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ งานให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ รวมถึงการสำรอง (Backup) ข้อมูล โดยการคัดลอกข้อมูลที่ใช้ งานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทำสำเนา เช่น ใช้โปรแกรมในการสำรองข้อมูล เป็นการหลีกเลี่ยงความ เสียหายที่จะเกิดขึ้นหากข้อมูลเกิดการเสียหายหรือสูญหาย ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่สำรองไว้ในสื่อ บันทึกข้อมูลกลับมาใช้งานได้ทันที โดยการกู้คืน (Restore) ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ 4) กระบวนการเผยแพร่ข้อมูล (Publish) เป็นการแชร์ข้อมูล (Sharing) การกระจายข้อมูล (Dissemination) การควบคุมการเข้าถึง (Access Control) การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน (Exchange) และการกำหนดเงื่อนไขในการนำข้อมูลไปใช้(Condition) 5) กระบวนการจัดเก็บข้อมูลถาวร (Archive) เป็นการคัดลอกเอาข้อมูลที่มีช่วงอายุเกินช่วงใช้งาน หรือไม่ได้ใช้งานแล้ว เพื่อทำสำเนาสำหรับการเก็บรักษา โดยที่ข้อมูลนั้นไม่มีการลบ ปรับปรุง หรือ แก้ไขอีก และสามารถนำกลับไปใช้งานได้ใหม่เมื่อต้องการ 6) กระบวนการทำลายข้อมูล (Destroy) เป็นการทำลายข้อมูล ซึ่งปกติจะเป็นการทำลายข้อมูลที่มีการ จัดเก็บถาวรเป็นระยะเวลานานหรือเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด โดยสรุปแล้ว การนำธรรมาภิบาลข้อมูลมาใช้จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ลดความซ้ำซ้อนและความขัดแย้งของข้อมูล รวมถึงช่วยปกป้องความลับและความปลอดภัยของข้อมูลสำคัญ ซึ่งจะสนับสนุนการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่มีมาตรฐานและอย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.dga.or.th/policy-standard/standard/dga-005/dga-006/6 พฤศจิกายน 2566
1 recent views ทำความรู้จักกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) -
ความสำคัญของการจัดทำ Data Catalog ขององค์กร
ปัจจุบันการทำงานกับข้อมูลมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานและตัดสินใจในปัจจุบัน องค์กรมีจำนวนข้อมูลที่มากมายและหลากหลายที่เก็บไว้ในระบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้การจัดการและเข้าถึงข้อมูลนั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น การที่องค์กรมี Data Catalog จะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพม ซึ่งมีด้วยกันหลายประการ ดังนี้ 1. การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น Data Catalog ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น ผ่านการให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลทั้งหมดที่องค์กรเก็บไว้ รวมถึงลักษณะโครงสร้าง และความสัมพันธ์ของข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งช่วยลดเวลาในการค้นหาข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 2. การทำความเข้าใจข้อมูล Data Catalog ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น โดยจะรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับแต่ละชุดข้อมูล เช่น คำอธิบาย คุณสมบัติ การใช้งาน และความหมาย ซึ่งช่วยในการประมวลผลและการตัดสินใจที่ถูกต้อง 3. การบริหารจัดการข้อมูล Data Catalog เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการข้อมูลในองค์กร ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถติดตามและจัดการทรัพยากรข้อมูลได้โดยง่าย และใช้ทรัพยากรและพัฒนาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ 4. การควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล Data Catalog ช่วยในการควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลให้เฉพาะบุคคลที่มีสิทธิ์เท่านั้น ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่มีความสำคัญไม่ถูกเข้าถึงโดยบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์ 5. การสนับสนุนการตัดสินใจ Data Catalog ช่วยให้องค์กรสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจที่มีมูลค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้งานสามารถดูตัวอย่างข้อมูลและการวิเคราะห์ที่เคยทำไว้ ทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีพื้นฐาน สรุป Data Catalog เป็นเครื่องมือที่สำคัญและมีประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในองค์กร ที่จะช่วยเหลือในการค้นหา ทำความเข้าใจ บริหารจัดการ ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล และสนับสนุนการตัดสินใจ ทำให้มีการใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการดำเนินงานและการตัดสินใจต่างๆ ขององค์กร ทดลองเข้าถึง Data Catalog ของ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ที่ > OPDC Data Portal ผู้เขียน : กลุ่มพัฒนาระบบข้อมูลการบริหารจัดการภาครัฐ กองติดตามฯ7 ตุลาคม 2566
8 recent views ความสำคัญของการจัดทำ Data Catalog ขององค์กร -
แนวทางการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Machine Readable สำหรับ Open Data
การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Machine Readable คืออะไร "Machine Readable" หรือ อ่านได้ด้วยเครื่อง คือ ข้อมูลที่มีโครงสร้าง สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เน้นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้จริง นำไปวิเคราะห์และประมวลผลต่อได้ง่าย ประโยชน์ของการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Machine Readable 1. ความง่ายต่อนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ โดยสามารถลดระยะเวลาในขั้นตอนการทำความสะอาดข้อมูล หรือการแปลงข้อมูลก่อนจะไปประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปได้โดยง่าย เหมาะสำหรับการเผยแพร่เป็นข้อมูลเปิด (Open Data) เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้จริง 2. ชุดข้อมูลมีความเป็นมาตรฐาน สามารถอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ง่าย เช่น เมื่อต้องการเพิ่มข้อมูลในปีถัดไปสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากมีโครงสร้างที่เป็นมาตรฐานเดียวกันของทุกปี ไม่สร้างความสับสนให้ทั้งผู้สร้างข้อมูลและผู้ที่นำข้อมูลไปใช้งาน แนวทางการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Machine Readable สำหรับ Open Data 1. ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในรูปแบบตาราง (จัดอยู่ในรูปแบบแถวและคอลัมน์) 2. ข้อมูลแต่ละรายการต้องจัดเก็บอยู่ในช่องเดียวกันเท่านั้น (ไม่มีการ merge cells) 3. การตั้งชื่อคอลัมน์ควรตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ และต้องไม่ขึ้นต้นด้วยอักขระพิเศษ (#,@) และไม่มีการเว้นวรรค 4. ข้อมูลควรจัดโครงสร้างในรูปแบบข้อมูลรายการ (Transaction Data) ไม่ควรจัดในลักษณะ Crosstab Table หรือ Pivot Table 5. รูปแบบข้อมูลจะต้องมีความคงเส้นคงวา (Consistency) - ชนิดตัวแปร เช่น ข้อมูลที่เป็นตัวเลขจะต้องเป็นตัวเลขทั้งคอลัมน์ หากมีค่าว่างให้ปล่อยว่าง ห้ามใส่ "-" หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเลข - รูปแบบข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องสอดคล้อง หรือใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน เช่น ข้อมูลวัน/เดือน/ปี จะต้องกำหนดรูปแบบวัน เดือน ปีที่สอดคล้องกัน, ข้อมูลที่มีหน่วยวัดจะต้องเก็บเป็นหน่วยเดียวกัน 6. ข้อมูลจัดเก็บในรูปแบบรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจง่าย เช่น การจัดเก็บข้อมูลเพศ ด้วยรหัส 0 และ 1 แทนคำว่า Male และ Female 7. ชุดข้อมูลต้องกำหนดประเภทการเข้ารหัส (Encoding) ที่สอดคล้องกับภาษาของข้อมูลที่จัดเก็บ เช่น ข้อมูลเป็นภาษาไทย ต้องเข้ารหัสเป็นแบบ UTF-8 เท่านั้น 8. ชุดข้อมูลควรบันทึกอยู่ในรูปแบบมาตรฐานเปิดที่สามารถใช้ได้หลายแพลตฟอร์ม โดยต้องไม่ถือครองกรรมสิทธิ์หลังจากนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ (Non-Proprietary) 9. ชุดข้อมูลต้องบันทึกอยู่ในรูปแบบไฟล์ที่สามารถประมวลผลด้วยเครื่อง เช่น CSV, RDF, XML, JSON ที่มา data.go.th17 ตุลาคม 2566
32 recent views แนวทางการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Machine Readable สำหรับ Open Data -
นโยบายการจัดเก็บข้อมูลคุกกี้ (Cookies Consent)
นโยบายการจัดเก็บข้อมูลคุกกี้ (Cookies Consent) เมื่อท่านได้เข้าสู่เว็บไซต์ (https://dataportal.opdc.go.th/) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เว็บไซต์ ของท่านจะถูกบันทึกไว้ในรูปแบบของคุกกี้ โดยการจัดเก็บข้อมูลคุ้กกี้นี้จะอธิบายถึงความหมาย วัตถุประสงค์ รวมถึงการลบและการปฏิเสธการเก็บคุกกี้ เพื่อความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยการเข้าสู่เว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คุกกี้คืออะไร คุกกี้ คือ ไฟล์เล็ก ๆ เพื่อจัดเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานเว็บไซต์ เช่น วันเวลา ลิงค์ที่คลิก หน้าที่เข้าชม เงื่อนไขการตั้งค่าต่าง ๆ โดยจะบันทึกลงไปในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ/หรือ เครื่องมือสื่อสารที่เข้าใช้งานของท่าน เช่น โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือ สมาร์ทโฟน ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ในขณะที่ท่านเข้าสู่เว็บไซต์ โดยคุกกี้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ/หรือ เครื่องมือสื่อสารของท่าน ในกรณีดังต่อไปนี้ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอาจถูกจัดเก็บเพื่อใช้เพิ่มประสบการณ์การใช้งานบริการทางออนไลน์ โดยจะจำเอกลักษณ์ของภาษาและปรับแต่งข้อมูลการใช้งานตามความต้องการของท่าน เป็นการยืนยันคุณลักษณะเฉพาะตัว ข้อมูลความปลอดภัยของท่าน รวมถึงบริการที่ท่านสนใจ นอกจากนี้คุกกี้ยังถูกใช้เพื่อวัดปริมาณการเข้าใช้งานบริการทางออนไลน์ การปรับเปลี่ยนเนื้อหาตามการใช้งานของท่านโดยพิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าใช้งานครั้งก่อน ๆ และ ณ ปัจจุบัน และอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ที่มา data.go.th วัตถุประสงค์ในการใช้งานคุกกี้ นโยบายการจัดเก็บข้อมูลคุกกี้ (Cookies Consent) เป็นการขอความยินยอมเพื่อจัดเก็บข้อมูลผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) คุกกี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies) และคุกกี้ที่ไม่จำเป็น (Non-Necessary Cookies) ซึ่งคุกกี้ทั้ง 2 ประเภทนี้ จะได้รับความคุ้มครองตาม PDPA แตกต่างกัน และการขอความยินยอมให้ใช้หรือเก็บรวบรวมคุกกี้ก็จะต่างกันไปด้วย คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies) เป็นคุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อระบบการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปกติและปลอดภัย เช่น ระบบ Log in คุกกี้ที่ไม่จำเป็น (Non-Necessary Cookies) มีหลายประเภทแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ใช้งาน เช่น คุกกี้เก็บข้อมูลการใช้งานเป็นคุกกี้วัดผลที่รวบรวมและรายงานข้อมูลสถิติการเข้าชมเว็บไซต์ เช่น Google Analytics คุกกี้ฟังก์ชันการทำงาน (Preferences หรือ Functional Cookies) ที่เป็นการบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน เช่น จดจำการเข้าระบบ (Log in) ทำให้การเข้าใช้งานเว็บไซต์ครั้งต่อไปไม่ต้อง Log in ซ้ำ เป็นต้น วัตถุประสงค์ในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์ (https://dataportal.opdc.go.th/) มีรายละเอียดดังนี้ คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Necessary Cookies) เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถจดจำผู้เข้ามาใช้บริการหรือเยี่ยมชมเว็บไซต์และค่าที่ผู้ใช้บริการเลือก โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการจัดเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับผู้เข้าชมเว็บไซต์แต่ละรายได้ คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ ที่ช่วยให้หน่วยงาน (สำนักงาน ก.พ.ร.) ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของหน่วยงาน รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ หน่วยงานยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น การจัดการความเป็นส่วนตัว ท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวได้ ได้ที่ Cookie Banner เพื่อให้ท่านสามารถเลือกที่จะอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ระบบเก็บข้อมูลคุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้เพื่อประสิทธิภาพการทำงานได้9 ตุลาคม 2566
2 recent views นโยบายการจัดเก็บข้อมูลคุกกี้ (Cookies Consent)